โครงการอุทยานพี่อุทยานน้องร่วมแบ่งปันทรัพยากรและองค์ความรู้

Sister Parks Arrangement for Resources and Knowledge Sharing (SPARK)

 

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นอุทยานมรดกโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งการบริหารจัดการอุทยานเป็นหัวใจ
สำคัญในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนั้นให้ยั่งยืนไปพร้อมกับธุรกิจการท่องเที่ยวที่ขยายตัวตลอดเวลา 
โครงการ SPARK จึงเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิอมตะ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า พันธุ์พืช และองค์กร International Conservation Caucus Foundation (ICCF) เพื่อยกระดับการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
สู่ระดับสากล และเพื่อเป็นต้นแบบด้านการบริหารจัดการอุทยานของอุทยานแห่งชาติอื่นๆ ในประเทศไทยและภูมิภาคต่อไป

โครงการที่ผ่านมา

Mission I

ระหว่างวันที่ 21 มกราคม – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คณะผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติจากสหรัฐอเมริกา ได้รับเชิญมาเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการอุทยาน และกำหนดแนวทางการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ โดยคณะทำงานได้สํารวจจุดอ่อนของการบริหารจัดการที่ยังไม่ได้มาตรฐานสากล และให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานขั้นพื้นฐานโดยจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังเพื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี

  • Mr. Dale Ditmanson  อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ Great Smoky Mountains National Park
  • Ms. Maria Burks อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ National Parks of New York Harbor
  • Mr. Kevin FitzGerald  อดีตรองหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ Great Smoky Mountains National Park
SPARK I (1).png SPARK I (2)-2.jpg
SPARK I (3).jpg SPARK I (4).jpg
Mission II

ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 18 กันยายน พ.ศ. 2558

คณะผู้เชี่ยวชาญอาสาจาก Global Parks ได้รับเชิญมาลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อสานต่อการทำงานของคณะผู้เชี่ยวชาญอาสา SPARK Mission I โดยพิจารณาช่องโหว่ (ปัญหาต่างๆ) ที่ระบุไว้ในรายงาน SPARK Mission I และเพิ่มเติมปัญหาที่พบเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอุทยาน ตลอดจนจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาระยะสั้นโดยพิจารณาจัดลำดับความสำคัญตามความเร่งด่วน สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน และ คุ้มค่าแก่การลงทุน

  • Mr. Brian Bawtinheimer  กรรมการบริหาร  กรมอุทยานแห่งมลรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา
  • Ms. Maria Burks อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ National Parks of New York Harbor
  • Mr. John Block  อดีตผู้อํานวยการ สาขาของอุทยานแห่งมลรัฐบริติชโคลัมเบียและพื้นที่คุ้มครอง และอดีตผู้จัดการ ส่วนนันทนาการและส่วนปฏิบัติการและพัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวก กรมอุทยานแห่งมลรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา
img01.png img02.png
SPARK II (1).jpg mission.png
Mission III

ระหว่างวันที่ 18 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

คณะผู้เชี่ยวชาญอาสาจาก Global Parks ได้รับเชิญมาลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อ “การสร้างแบรนด์” (Branding) และ “การพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติ” (Trails Development) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนปฏิบัติการที่ระบุไว้ใน SPARK Mission II เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวและนันทนาการให้มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญอีกชุดหนึ่งถูกรับเชิญมาช่วยปลายปีเพื่อจัดอบรมภาคสนามในการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ซึ่งปรากฏเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 200 ปี ไทย-สหรัฐอเมริกา (หมายเลข7)

Mr. Sam  Vaughn  อดีตหัวหน้าฝ่ายการวางแผนการสื่อหมายแห่งศูนย์การออกแบบแห่งเมืองฮาร์เปอร์ เฟอรี่ กรมอุทยานแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา
Mr. Kevin  FitzGerald  อดีตรองหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ Great Smoky Mountains National Park
Mr. Hunter  Turner  ผู้เชี่ยวชาญการบูรณะซ่อมแซม ฟื้นฟู และพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติ  /อดีตเจ้าหน้าที่โครงการ Great Smoky Mountains National Park Trails Forever

  • Ms. Cynthia  Slaughter  ช่างภาพ นักเขียน และบรรณาธิการ
  • Ms. Chelsea  Turner  ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาแบรนด์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
  • Mr. Stephen Sanford Griswold  ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำเส้นทาง กรมอุทยานแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา และคณะกรรมการผู้ริเริ่มโครงการ Golden Gate National Recreation Area Trails Forever Initiative
  • Mr. Ernest Arthur Milan  ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำเส้นทาง

 

SPARK III (1).jpg SPARK III (2).jpg
SPARK III (3).JPG SPARK III (4).jpg
Mission IV

ระหว่างวันที่ 27 เมษายน – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

คณะผู้เชี่ยวชาญอาสาจาก Global Parks ได้รับเชิญมาลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อสำรวจ และประเมินโอกาส และความเป็นไปได้ในการวางยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนอกจากจะทำให้ชุมชนเกิดความตระหนักรู้คุณค่า และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังจะช่วยสร้างระบบเศรษฐกิจจากฐานราก บนสมดุลระหว่างป่ากับเมือง เพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนอีกทางหนึ่ง

  • Mr. Marc Koenings อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการอุทยานฯ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชนรอบอุทยานฯ
  • Mr. Graham Edgeley ผู้ร่วมก่อตั้ง Village Ways ซึ่งเป็นบริษัทส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนในประเทศอินเดีย และเนปาล
SPARK IV (1).jpg SPARK IV (2).jpg
Mission V

ระหว่างวันที่ 21 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

คณะผู้เชี่ยวชาญอาสาจาก Global Parks ได้รับเชิญมาลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อประเมิน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาเนื้อหาในป้ายสื่อความหมายในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 200 ปี ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งประเมิน และให้ข้อเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดแสดงนิทรรศการในศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ตลอดจนให้องค์ความรู้เพื่อพัฒนาการฝึกอบรมที่จำเป็นเบื้องต้นแก่เจ้าหน้าที่ และวิเคราะห์ช่องโหว่เพื่อหาแนวทางการฝึกอบรมด้านการสื่อความหมาย รวมถึงให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการจัดฝึกอบรมด้านการสื่อความหมายในอนาคต เพราะการสื่อความหมายที่ได้มาตรฐานคือหัวใจสำคัญหนึ่งของการอนุรักษ์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้และตระหนัก อันจะนำไปสู่การปฏิบัติตนที่ถูกต้อง และร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

  • Mr. Constantine (Costa) Dillon  อดีตหัวหน้าอุทยาน Indiana Dunes National Park และหัวหน้าครูฝึก กรมอุทยานแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • Ms. Lorenza Fong  อดีตผู้ช่วยหัวหน้าอุทยาน Santa Monica Mountains National Recreation Area
  • Ms. Amy Yee  เจ้าหน้าที่สื่อความหมายของ Bighorn Canyon National Recreation Area
SPARK V (1).jpg SPARK V (2).jpg
SPARK V (3).jpg SPARK V (4).jpg
Mission VI

ด้วยมูลนิธิอมตะ และองค์กร ICCF เห็นตรงกันว่า การเชิญคณะผู้เชี่ยวชาญอาสามาลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อร่วมคิด ร่วมประเมิน และร่วมทำงานกับบุคลากรในพื้นที่อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้การพัฒนาเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างรวดเร็ว ดังนั้น Mr. Joe Alston อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ Grand Canyon จึงได้รับเชิญมาอุทยานในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563  เพื่อประเมิน และทำโปรแกรมสำหรับทีมที่จะมาทำงานร่วมกับบุคลากรในพื้นที่  อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์โรคระบาดเชื้อไวรัสโควิด ส่งผลให้โปรแกรมดังกล่าวถูกเลื่อนออกไป และได้ดำเนินการในกิจกรรมที่เร่งด่วนแต่สามารถทำได้ คือ การพัฒนาเว็บไซต์ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ให้ได้มาตรฐานสากล ดังปรากฏในปัจจุบัน

SPARK VI (1).jpg SPARK VI (2).jpg
SPARK VI (3).jpg SPARK VI (4).png
go to top